วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเพณีของภาคเหนือ


   คนไทยในภาคเหนือมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนิยมปลูกบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนาก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ คนในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสาย ยวนหรือโยนก ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่นหรือที่เข้าใจกันว่า ภาษาคำเมือง ผู้คนมักประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขา มีพื้นที่ราบน้อยหรือประมาณ ¼ ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำพื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ราบแอ่งเขาปลูกข้าวและพืชอื่นๆจึงทำให้อาหารของคนในภาคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพืช ผักที่มีอยู่ในท้องที่ การทำอาหารของคนในภาคเหนือมักจะทำให้สุกมากๆอาหารที่ขึ้นชื่อของทางภาคเหนือที่รู้จักกันดีก็คือ น้ำพริกอ่อง, ขนมจีนน้ำเงี้ยว, ไส้อั่ว ในส่วนของการแต่งกายผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบ 3 ส่วน  เรียกว่าเตี่ยว สวมเสื้อม่อฮ้อม (ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน) ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุง (ยาวเกือบถึงตาตุ่ม) ที่มีสีสันลวดลายสวยงาม การแสดงของทางภาคนี้คือการร่ายรำที่มีจังหวะช้าๆ ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เช่น ฟ้อนเงี้ยว , ฟ้อนเล็บ , ฟ้อนเทียน ประเพณีดั่งเดิมของทางภาคเหนือก็จะมี ประเพณียี่เป็ง   ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาไทย โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย     ประเพณีปอยส่างลอง    "งานบวชลูกแก้ว" เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน  ประเพณีกรวยสลาก ช่วงเวลา ประเพณีกรวยสลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กินก๋วยสลาก ได้ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปีเกือบทุกวัด เริ่มจะไม่มีกำหนดตายตัว อาจจะทำในช่วงเข้าพรรษาก็เคยมี เป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ทุกบ้านจะหยุดงานเพื่อมาร่วมกันเตรียมงาน เตรียมกองสลาก เตรียมจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน  เป็นต้น
 



VDOนี้เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น